วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555

คำว่าแม่ ตอนที่ ๓


 



 


ที่กล่าวมาเป็นความหมายของแม่คำ  ส่วนลูกคำของคำว่า แม่  ท่านเก็บไว้ดังนี้

 แม่กระชังหน้าใหญ่  (ส.)  น.  (เป็นคำสำนวน ใช้เป็นคำนาม)  หมายถึง  ผู้ที่ชอบแสดงตัวออกหน้าเป็นหัวเรือใหญ่,  
  มักพูดเข้าคู่กับ  แม่หญิงแม่หญัง  เป็น  แม่หญิงแม่หญัง  แม่กระชังหน้าใหญ่
แม่กระแชง น. หมายถึง ปลาสลิดแห้งชนิดใหญ่
แม่กอง น. หมายวถึง ผู้เป็นนายกอง
แม่กุญแจ น. หมายถึง   ลูกกุญแจที่ไขตัวกุญแจชนิดเดียวกันได้ทั่วไป
แม่คุณ น. หมายถึง  คำพูดเอาใจหญิง
แม่คู่ น. หมายถึง   นักสวดผู้ขึ้นต้นบท
แม่งาน น. หมายถึง   ผู้จัดงาน
แม่เจ้า น. หมายถึง   คำเรียกเมียพ่อเมืองหรือเจ้าผู้ครองนคร
แม่เจ้าโว้ย  อุ.  (คำอุทาน) หมายถึง   คำที่เปล่งออกมาแสดงความประหลาดใจ
แม่ซื้อ น. หมายถึง   เทวดาหรือผีที่ประจำทารก,  แม่วี  ก็เรียก
แม่เตาไฟ น. หมายถึง   ไม้สี่เหลี่ยมที่เป็นกรอบกรุดินสำหรับตั้งเตาไฟ
แม่ทัพ น. หมายถึง   นายทัพ
แม่ท่า น. หมายถึง   แม่บท
แม่นม น. หมายถึง   หญิงที่ให้นมเด็กกินแทนแม่,  เรียกสั้น ๆ ว่า  นม
แม่น้ำ น. หมายถึง   ลำน้ำใหญ่ซึ่งเป็นที่รวมของลำธารทั้งปวง
แม่บท น. หมายถึง   หัวข้อใหญ่,  ท่าที่เป็นหลักของการรำ,  แม่ท่า  ก็เรียก
แม่บ้าน น. หมายถึง   หญิงผู้จัดการงานในบ้านเป็นต้น
แม่เบี้ย น. หมายถึง   พังพานงู
แม่ปะ น. หมายถึง   ชื่อเรือชนิดหนึ่งรูปคล้ายเรือชะล่า  แต่ใหญ่กว่า  มีประทุนอยู่กลาง  หัวและท้ายเสมอกัน  มีใช้อยู่ตามแถบภาคเหนือ
แม่แปรก น. หมายถึง   ช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลง ; หญิงสาวที่จัดจ้านซึ่งเป็นหัวหน้าของหญิงสาวในหมู่
แม่พิมพ์ น. หมายถึง   สิ่งที่เป็นต้นแบบ,  โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นแบบอย่าง
แม่มด น. หมายถึง   หญิงหมอผี,  หญิงที่ใช้อำนาจทำอะไรได้ผิดธรรมดาโดยอาศัยผีช่วย
 แม่ม่าย น. หมายถึง   หญิงที่มีผัวแล้ว  แต่ผัวตายหรือหย่าร้างกันไป
 แม่ม่ายทรงเครื่อง  น. หมายถึง   แม่ม่ายที่มั่งมี
 แม่ยั่วเมือง น. หมายถึง   คำเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ,  เขียนว่า  หยั่วเมือง หรือ อยั่วเมือง ก็มี
 แม่ย่านาง น. หมายถึง   ผีผู้หญิงประจำรักษาเรือ
 แม่ยาย น. หมายถึง   แม่ของเมีย
 แม่ย้าว น. หมายถึง   แม่เรือน  
 แม่ร้า น. หมายถึง   เรียกหญิงจัดจ้านว่า  แม่ร้า
 แม่ร้าง น. หมายถึง   หญิงที่เลิกกับผัว,  บางทีก็เรียกว่า  แม่ม่ายผัวร้าง
 แม่รีแม่แรด น. หมายถึง   ทำเจ้าหน้าเจ้าตา
 แม่เรือน น. หมายถึง   หญิงผู้ปกครองเรือน,  แม่เจ้าเรือน  ก็ว่า
 แม่แรง น. หมายถึง  เครื่องสำหรับดีดงัดหรือยกของหนัก,  โดยปริยายหมายถึงคนที่เป็นกำลังสำคัญในการงาน
 แม่ลาย น. หมายถึง   ลายตอนที่เป็นประธานมีซ้ำ ๆ  กันเป็นแถวไป
 แม่เล้า น. หมายถึง   ผู้หญิงผู้เป็นหัวหน้าเลี้ยงหญิงสาวไว้บำเรอชาย  (เป็นคำปาก)
 แม่เลี้ยง น. หมายถึง   เมียของพ่อที่ไม่ใช่แม่ตัว
 แม่วี น. หมายถึง   คอกจับช้างขนาดเล็ก,  แม่ซื้อ ก็ว่า
 แม่สายบัวแต่งตัวค้าง  (ส.)  น. หมายถึง   ผู้หญิงที่แต่งตัวคอยผู้มารับออกนอกบ้าน  แต่เขาไม่มาตามนัด  
 แม่สำเภา น.  หมายถึง   คำที่ผู้ใหญ่เรียกหญิงทั่วไปอย่างสุภาพ
 แม่สี น. หมายถึง   กลุ่มสีซึ่งสามารถผสมออกมาเป็นสีอื่น ๆ  ได้ทุกสี
 แม่สื่อ น. หมายถึง   ผู้ชักนำให้หญิงกับชายติดต่อรักกันในเชิงชู้สาว,  บางทีเรียกว่า  แม่สื่อแม่ชัก
 แม่หนัก น. หมายถึง   แม่แปรก  (ใช้เป็นคำราชาศัพท์)
 แม่เหย้าแม่เรือน น. หมายถึง   หญิงผู้ปกครองบ้านเรือน
 แม่เหล็ก น. หมายถึง   แร่หรือโลหะที่มีสมบัติดูดสารแม่เหล็กได้
 แม่อยู่หัว น. หมายถึง   คำเรียกพระมเหสี
 
ยังมีลูกคำของคำว่า  แม่  อีกหลายคำที่ไม่ปรากฏมีในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ถึงบางคำจะมีเก็บไว้  แต่ท่านก็ไม่ได้ให้ความหมายของคำนั้น ๆ  ไว้อย่างชัดเจน   แต่ปรากฏมีใช้ในหนังสืออื่น ๆ  ดังเช่น
 แม่กระได น. หมายถึง   แผ่นไม้หนาสองแผ่นที่ตั้งคู่ขนานยึดปลายลูกกระได
 แม่กลอน น. หมายถึง   ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง  จำพวกต้นกะด้าง
 แม่กองธรรม น. หมายถึง   สงฆ์ผู้เป็นหัวหน้าในการคุมสอบนักธรรม
 แม่กองบาลี น. หมายถึง   สงฆ์ผู้เป็นหัวหน้าในการคุมสอบบาลี
 แม่แก่ น. หมายถึง   เรียกเด็กหญิงหรือหญิงสาวที่ชอบบ่นจุกจิกว่า  แม่แก่,  บางถิ่นเรียก  ย่า  หรือ  ยาย  ว่า  แม่แก่
 แม่ครัว น. หมายถึง   หญิงผู้ปรุงอาหารในครัว
 แม่ค้า น. หมายถึง   หญิงผู้ค้าขาย,  แม่ค้าแม่ขาย  ก็ว่า
 แม่คุณ น. หมายถึง   หญิงที่เป็นแม่ของแม่  เรียกกันว่า  ยาย  แต่บางท้องถิ่นเรียกว่า  แม่คุณ
 แม่คุณแม่ทูลหัว น. หมายถึง   เป็นคำพูดเอาใจหญิงอันเป็นที่รัก
 แม่เชื้อ น. หมายถึง   แม่บังเกิดเกล้า
 แม่ซื้อ น. ในพจนานุกรมก็เก็บไว้  แต่ในนี้ขออธิบายเพิ่มเติมว่า  แม่ซื้อ  ประจำคนเกิดวันอาทิตย์  ชื่อ  วิจิตร์นาวัน,  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น